สนาม: เครือข่ายวิทยุจีน
บทนำ: หมอวรงค์ บุกศาลฎีกาฯ ยื่นคำร้อง เรืองกลาย บิดเบือนจำนำข้าวไม่ขาดทุน ส่อเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล ท้า ยิ่งลักษณ์ ถ้ามีข้อมูลใหม่ให้กลับมารื้อฟื้นสู้กันใหม่ ด้านผู้ว่าฯ สตงเคลียร์เหตุรายงานเงินแผ่นดินไม่บันทึกขาดทุนจำนำข้าว โดยแสดงรายการเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่ายจากงบประมาณในปีที่ ธกสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับการจัดสรรงบประมาณและเบิกจ่ายเงินจากคลัง เมื่อเวลา 1400 น วันที่ 27 สค ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถแจ้งวัฒนะ นพวรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต สสพิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกและคณะทำงานด้านกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ ขอให้พิจารณากรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กับเพจเฟซบุ๊ก ชินวัตร แฟนคลับ กรณีเปิดประเด็นโครงการรับจำนำข้าวไม่ขาดทุน ว่าเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ นพวรงค์กล่าวว่า เรื่องนี้ศาลฎีกาฯ ได้มีคำพิพากษาไว้ชัดเจนถึงตัวเลขขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวว่ามีจำนวนกว่า 536,000 ล้านบาท การที่นายเรืองไกรนำมาเปิดประเด็นนี้ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและเกิดข้อกังขาตามมา กับทราบว่าในเพจเฟซบุ๊ก ชินวัตร แฟนคลับ ได้นำคำพูดของนายเรืองไกรไปขยายผล ถ้าเรายังปล่อยเรื่องนี้ออกไปโดยไม่ดำเนินการใดๆ จะเกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม เพราะคำพิพากษาของศาลถือเป็นที่สิ้นสุดแล้ว เราจึงนำเรื่องของนายเรืองไกรและเพจ ชินวัตร แฟนคลับ มาร้องเพื่อให้ศาลได้ทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไป อยากให้นายเรืองไกรทราบด้วยว่า ในช่วงที่พวกเรามาเป็นพยานศาล ศาลฎีกาฯ ได้ออกข้อกำหนดคดีจำนำข้าวไม่ให้คู่ความหรือคู่กรณีออกมาให้สัมภาษณ์บิดเบือนข้อเท็จจริง จึงเชื่อว่าเมื่อเรามายื่น ศาลคงพิจารณาดำเนินการต่อไป เมื่อถามถึงกรณีที่นายเรืองไกรได้ยื่นร้องสำนักนายกฯ เรื่องข้าวที่หายไป 1 ล้านตัน และไม่มีเจตนาก้าวล่วงคำพิพากษา นพวรงค์กล่าวว่า เรื่องข้าวหายไม่หายในช่วงหลังนั้นไม่เกี่ยวกับคดีโครงการรับจำนำข้าวของ นสยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่ประเด็นที่นายเรืองไกรเปิดมาทำให้สังคมมีข้อกังขา เพราะกรณีของ นสยิ่งลักษณ์ เมื่อศาลตัดสินแล้วก็เปิดโอกาสให้ยื่นอุทธรณ์ แต่ตัว นสยิ่งลักษณ์ถ้าคิดว่าไม่ผิดทำไมจึงหลบหนี ผมขอท้าไปที่นายเรืองไกรและ นสยิ่งลักษณ์ว่าเรามี พรบรื้อฟื้นคดีอาญาฯ ถ้าหากนายเรืองไกรเข้าใจว่ามีข้อมูลใหม่ ไม่มีการขาดทุน ก็ให้มารื้อฟื้นคดีสู้กันใหม่ ถามว่าการกระทำของนายเรืองไกรเป็นความผิดกฎหมายฐานใด นพวรงค์ตอบว่า เรามองว่าอะไรที่ศาลตัดสินแล้ว หากไม่จบจะเป็นผลเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม ตนมาทำตรงนี้เพื่อปกป้องกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของระบอบประชาธิปไตย ส่วนศาลจะพิจารณาอย่างไรต่อไปนั้นเป็นดุลพินิจของศาล จากนั้น นพวรงค์กล่าวภายหลังยื่นคำร้องว่า ได้ยื่นคำร้องต่อเลขาฯ ศาลฎีกาฯ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปก็จะมีการส่งคำร้องให้องค์คณะพิจารณาว่าจะดำเนินการออกหมายเรียกมาไต่สวนหรือไม่ ขณะที่นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน แถลงว่า เนื่องจากกรณีนี้ค่อนข้างจะเป็นเรื่องทางเทคนิค การที่ปรากฏข่าวในลักษณะดังกล่าวอาจทำให้บุคคลทั่วไปมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น สตงในฐานะที่เป็นองค์กรตรวจสอบจึงขอชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เขากล่าวว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในรายงานการเงินแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555 อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้กระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือก เพื่อดำเนินการปิดบัญชีโครงการดังกล่าว หลังจากครบกำหนดไถ่ถอนและ/หรือสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ และให้มีการปิดบัญชีเป็นปีๆ ไป โดยให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชี ต่อมาในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกได้ใช้เงินทุนหมุนเวียนจาก ๒ แหล่ง ได้แก่ เงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) และเงินกู้จากสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังจัดหาและค้ำประกัน โดยให้มีการนำเงินที่ได้จากการระบายผลผลิตทางการเกษตรชำระคืนเงินทุน ธกสให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน กรณีมีความจำเป็นให้ ธกสสำรองจ่ายไปก่อนระหว่างรอเงินจากการระบายผลผลิตหรือเงินจากแหล่งอื่นๆ โดยให้กระทรวงพาณิชย์ตกลงกับ ธกสเป็นคราวๆ ไป โดย ธกสจะได้รับอัตราชดเชยต้นทุนเงินและค่าบริหารโครงการ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังรับภาระชำระคืนต้นเงิน ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ และผลขาดทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ทั้งในส่วนที่กระทรวงการคลังจัดหาให้และส่วนที่ใช้เงินทุนของ ธกส และให้ ธกสแยกการดำเนินงานโครงการออกจากการดำเนินงานปกติเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ และบันทึกเป็นภาระผูกพันนอกงบประมาณ เพื่อทราบผลกระทบจากการดำเนินโครงการและขอชดเชยความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น โครงการรับจำนำข้าวเปลือก เป็นโครงการที่ใช้เงินทุนของ ธกสและเงินกู้จากสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังจัดหาและค้ำประกัน โดยกระทรวงการคลังรับภาระในการนำเงินงบประมาณชดใช้คืนต้นเงิน ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ และผลขาดทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเป็นรายปี โดย ธกสจัดทำเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ และบันทึกเป็นภาระผูกพันนอกงบประมาณ สำหรับข้อมูลโครงการรับจำนำข้าวเปลือกถือเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ในการดำเนินการปิดบัญชีโครงการดังกล่าว หลังจากครบกำหนดไถ่ถอนและ/หรือสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ และให้มีการปิดบัญชีเป็นปีๆ ไป ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกล่าวสรุปในตอนท้ายว่า สำหรับในกรณีของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนั้น รายงานการเงินแผ่นดินได้บันทึกรับรู้รายการเฉพาะการจ่ายเงินงบประมาณชดใช้คืนเงินทุนและเงินกู้ให้ ธกส และชดใช้ค่าบริหารจัดการอื่นๆ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแสดงรายการเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่ายจากงบประมาณในปีที่ ธกสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับการจัดสรรงบประมาณและเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว สำหรับเงินกู้จากสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังจัดหาและค้ำประกัน กระทรวงการคลังได้เปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบรายงานการเงินแผ่นดิน หัวข้อหนี้สาธารณะ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ฝั่ง กพ) ทำเนียบรัฐบาล นายเรืองไกรเข้ายื่นหนังสือถึง พลอประยุทธ์ ขอให้ตรวจสอบข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่หายไป 1 ล้านตัน โดยนายเรืองไกรกล่าวว่า เมื่อ คสชเข้ามาได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำบัญชีข้าวคงเหลือของรัฐตามคำสั่ง คสชที่ 176/2557 และตามรายงานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข) ที่ 2/2557 ระบุมีข้าวคงเหลือ 187 ล้านตัน แต่หลังจากนั้นกรมการค้าต่างประเทศได้แถลงผลการระบายข้าวว่ามีข้าวหายไป 1 ล้านตัน จึงอยากทราบว่าใครเป็นผู้ทำบัญชีข้าว เพราะอธิบดีกรมบัญชีกลางเคยชี้แจงว่าไม่มีการทำบัญชีรายโครงการ นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่า กรณีที่จะมีการระบายข้าวของรัฐบาลวันที่ 29-30 สคนี้ มีข้าวที่มาจากปี 51-52 อยู่ด้วย เหตุใดข้าวเหล่านี้จึงเก็บได้นาน แต่ข้าวในสมัยรัฐบาล นสยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีถึงเน่าเสีย ส่วนที่ นพวรงค์ระบุว่า ตนตั้งคำถามในคดีข้าวทั้งที่มีคำพิพากษาออกมาแล้วนั้น ตนเพียงนำข้อมูลที่อยู่ในคำพิพากษามาตรวจสอบกับบัญชีของรัฐบาล แต่กลับไม่มี จึงต้องตั้งคำถามมายังรัฐบาลเท่านั้น ไม่มีเจตนาก้าวล่วงคำพิพากษา...
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-04-17